การทำงาน ของ สง่า วัชราภรณ์

หลังจากนั้นเขาได้สอบเป็นครูประชาบาล ที่โรงเรียนมหินทรศึกษาคาร ต่อมาย้ายกลับไปเป็นครูที่โรงเรียนประชาบาลวัดไร่ขิง ช่วงปดภาคเรียนก็ได้ไปเรียนต่อวิชาช่างที่โรงเรียนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ จนได้รับประกาศนียบัตรจากสมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม เขาจึงลาออกไปทำงานที่บริษัทไทยนิยมแผนกสร้างทาง ได้รับมอบหมายให้ไปคุมงานก่อสร้างทางสายธนบุรี-ประจวบตีรีขันธ์ ทำงานได้ไม่นานจึงลาออกไปสมัครเข้าทำงานในเทศบาลเมืองตะกั่วป่า กระทั่งในปี พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นโยธาเทศบาลจังหวัดศรีสะเกษ[2]

สง่า ลาออกจากราชการและลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ผลปรากฏว่าได้คะแนนลำดับที่ 16 จากผู้สมัคร 31 คน[2]

หลังจากนั้นเขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ศรีสะเกษ 7 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคเสรีธรรม, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรครวมไทย และสมัยสุดท้ายคือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม

สง่า เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[3]

สง่า วัชราภรณ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[4]